ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ในสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่ง ราชวงศ์จักรี ชาวโย้ยจากเมืองฮ้อมท้าว แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ในปัจจุบัน โดยมีท้าวศีสุราช เป็นหัวหน้าอพยพราษฎร จำนวน 2,000 คน เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณบ้านม่วงริมยามซึ่งสาเหตุการอพยพครั้งนั้นเกิดจากกรณีศึกษา เจ้าอนุวงศ์ กองทัพจารุงเทพฯ ยกไปปราบเวียงจันท์อย่างรุ่นแรงจนกลายเป็นสงครามระหว่างไทยกับญวน ในดินแดนของลาวและเขมรเป็นเวลานานถึง 14 ปี (พ.ศ.2370-2394) ฝ่ายไทยมีนโยบายสำคัญเพื่อตัดกำลังญวนจึงได้เกลี้ยกล่อมชักชวนประชาชนในบริเวณสนามรบให้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งหลักแหล่งบริเวณอีสานและบริเวณอื่นๆ เช่นราษฎรที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งบริเวณ

จังหวัดสกลนคร หลายกลุ่ม หลายเผ่า ดังนี้
ชาวผู้ไท พรรณนานิคม มาจาก เมืองวัง
ชาวผู้ไท วาริชภูมิและพังโคนมาจากเมืองกะปอง
ชาวโซ่ กุสุมาลย์ มาจากเมือง มหาชัยกองแก้ว
ชาวโย้ย อากาศอำนวยและเมืองวานรนิวาส มาจากเมืองฮ่อมท้าว
ชาวโย้ย บ้านเดื่อ บ้านหัน สว่างแดนดิน มาจากเมืองภูวา
ชาวญ้อ มากจากเมืองคำ ม่วน

กลุ่มชนเผ่าต่างๆ ที่อพยพเข้ามามีความแตกต่างกันไป มีภาษาพูดเป็นของตนเองมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างในรายละเอียดกันออกไป เจ้าเมืองที่นำ ราษฎรอพยพมาสามารถสืบตระกูลเจ้าเมืองได้เหมือนกัน เมื่อประชาชนลาวเข้ามาอยู่ในอีสานมากขึ้นทางกรุงเทพฯ ต้องจัดระเบียบการปกครองใหม่ โดยยุบเมืองเก่าตั้งเมืองใหม่หรือยกบ้านให้เป็นเมือง พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์)รัชกาลที่ 3 โปรดให้ยกบ้านขึ้นเป็นเมืองม่วงริมยาม ยกเมืองอากาศอำนวยขึ้นต่อเมืองนครพนม เนื่องจากเมืองสกลนครไม่จ้าเมืองเพราะขัดอาญาศึกไม่เตรียมคน เสบียงอาหาร และดินปืนในคราวที่พระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองสกลนครจึงถูกตัดคอ และกลายเป็นเมืองร้างราษฎร ถูกกวาดต้อนไปอยู่เมืองปราจีนบุรี

พ.ศ.2376 พระยาสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธรและนครพนมเป็นผู้นำไพร่พลเข้าร่วมสงครามกับพระยาราชสุภาดี เมื่อเสร็จสิ้นจากสงครามแล้วจะเดินทางกลับเองยโสธร เจ้าจันโสมเป็นหัวหน้าชาวโย้ยอากาศอำนวยประมาณพันคนเศษติดตามไปเมืองยโสธรด้วย ได้ตั้งแหลักแหล่งอยู่บริเวณบ้านกุดลิง ใกล้เมืองยโสธร เมืองพระสนทร
ราชาวงศา ถึงแก่อสัญกรรม ประกอบกับบริเวณนั้นแห้งแล้งการทำ นาไม่ได้ผล และคิดถึง ญาติพี่น้อง จึงอพยพกลับมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านกุดแฮ่ (ตำบลแร่ อำเภอพังโคน)ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกุดแร่กุดลิง”

   พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 (ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์)

บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรีได้ปรับปรุงแก้ไขการปกครองหัวเมืองโดยการตั้งบ้านขึ้นเป็นเมือง ปรับปรุงชื่อเมือง ทรงตั้งเจ้าเมือง และเปลี่ยนแปลงเจ้าเมืองดังนี้ ยากบ้านโพสอาง เป็นเมืองสว่างแดนดิน ตั้งพระศรีสิทธิศักดิ์เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านแร่กุดลิงเป็นเมืองวานรนิวาส ตั้งพระเจริญราชาเดชเป็นเจ้าเมือง เมืองยโสธรเจ้าเมืองเดียวกับเจ้าเมืองนครพนม คือ พระสุนทรราชาวาศามหาขัตติยชาติ ประเทศราชชวาเวียง ดำรงษ์รักษ์ ภักดียศฤาไกร พิชัยสงคราม เป็นเจ้าเมืองยโสธร ตั้งพระพนมนครนุรักษ์ ศรีสิทธิ์ศักดิ์ เทพฤายศบุรีศรีโคตรบูรหลวงเป็นเจ้าเมืองนครพนม พ.ศ.2381 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยกเมืองสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนคร พ.ศ.2400 พงสาวดารอีสานกล่าวว่า ชาวโย้ยแตกหมู่ แตกกอเป็นสองพวก
พวกหนึ่งขึ้นเมืองยโสธร อีกพวกขอขึ้นเมืองสกลนคร ทางกรุงเทพฯใช้เวลาสอบสวนเดินทางไปมาเป็นเวลา 4 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แก้ปัญหาโดยพระราชทานสาสน์ทรงตั้งยกบ้านแรกุดลิง เป็นเมืองวานรนิวาส ตรงกับวันจันทร์ ที่6กรกฎาคม 2404 ขึ้นต่อเมืองสกลนคร และอพยพย้ายถิ่นฐานจากบ้านแร่กุดลิง มาอยู่บริเวณบ้านกุดแสง ซึ่งเป็นบริเวณบ้านวานรนิวาสในปัจจุบันพ.ศ.2440 – 2495 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือ บริเวณลาวและ
เขมร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อจัดระเบียบการปกครองของท้องที่ให้เหมาะสมและเพื่อป้องกันประเทศ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ตราพระราชราชบัญญัติปกครองท้องที่จัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และเปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองเป็น

สมุทเทศาภิบาล ผู้ว่าการเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นหัวหน้าการปกครองตามลำดับ
ในปี พศ.2495 ตรงกับสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรีได้เป็นพระนามว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง เมืองวานรนิวาส เป็นเมืองขนาดเล็กมีฐานะเป็นหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ คือบ้านวานรนิวาส ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยมีผู้ใหญ่บ้านและกำนันคนแรก
คือ นายสีเทา ศรีไชยา และมีนายอำ เภอคนแรกคือ พระประชาราษฎร์รักษา (ฉิม ศรีถาพร) จากสมุดที่ระลึกพิธีเปิดห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนครปัจจุบัน มี ว่าที่ร้อยตรี รวยรุ่ง ใครบุตร เป็นนายอำเภอวานรนิวาส และ นายวิทยา จันทร์ฉลอง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร