สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ

 

                1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล (แผนที่ประกอบ)

สำนักงานเทศบาลตำบลวานรนิวาส  ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  ๒๙๙  หมู่ที่  ๓  ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนคร  มีขนาดพื้นที่  ๒.๙๔  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๑,๘๓๗.๕  ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดสกลนครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 แยกจาก อำเภอพังโคน ถึง อำเภอวานรนิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ของตำบลวานรนิวาส  รวมระยะทางประมาณ 85 กม.  มีเส้นทางเข้าถึงได้  2 เส้นทางหลัก คือ

– เส้นทางที่ 1 ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 แยกจาก อำเภอพังโคน ถึง อำเภอวานรนิวาส

– เส้นทางที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2307 ไป อากาศอากาศอำนวย

แผนที่เทศบาลตำบลวานรนิวาส

               1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 170  เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัดสกลนคร 82 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 780 กิโลเมตร

                          อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส
  • ทิศใต้ ติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส
  • ทิศตะวันออก ติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส
  • ทิศตะวันตก ติดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

                      โดยทั่วไปฤดูร้อนอากาศจะร้อน อบอ้าว ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ในฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาวเนื่องจากมีพื้นที่ภูเขาและป่าไม้หนาแน่น ในปี ๒๕๕๓ จังหวัดสกลนคร มีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ ๔๑.๓ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม วัดได้ ๑๓.๐ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ทั้งปี ๓๖.๒๘ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยทั้งปี ๑๘.๘๘ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตลอดปีรวม ๑,๔๔๙.๙ มิลลิเมตร และฝนตกมากในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำฝนวัดได้ ๓๙๗.๘ มิลลิเมตรจังหวัดสกลนครมีฤดูกาล ดังนี้

  • ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนตุลาคม รวมเวลา ๔ – ๕ เดือน ฝนที่ตกส่วนมากเป็นฝนที่เกิดจาก พายุดีเปรสชั่นที่เคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ส่วนที่เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีไม่มากนัก ถ้าปีใดพายุดีเปรสชั่นเข้าน้อยปีนั้นจะแห้งแล้ง โดยปกติจะมีพายุดีเปรสชั่นถึงพายุโซนร้อนเข้าเฉลี่ยปีละ ๒ – ๓ ลูก สกลนครมีน้ำฝนเฉลี่ยประจำปี ประมาณ ๑,๖๙๖.๗๓ มิลลิเมตร (พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๕๓  คาบ ๕๐ ปี)
  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ รวมเวลา ๔ เดือน ในตอนต้นเดือนตุลาคมนั้น เป็นระยะเปลี่ยนฤดูระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาวอาจมีฝนตกได้เป็นบางวัน ฤดูหนาวของจังหวัดสกลนคร มีลักษณะอากาศหนาวอย่างชัดเจน กระแสลมเย็นและแห้งพัดมาจากประเทศจีน คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ฤดูร้อน เริ่มประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม รวมระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน ระยะนี้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหมดกำลังลง ลมตะวันออก เฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย จะพัดมาแทนที่และเป็นระยะหนึ่งที่ประเทศไทยได้รับแสงแดดกล้าที่สุด ทำให้มีอากาศร้อน และแห้งแล้งมาก

1.4 ลักษณะของดิน

ดินชุดหน่วยผสมของดินตะกอนลำน้ำหลายชนิดปะปนกัน  ส่วนใหญ่เป็นหน้าดินตื้นประกอบด้วยดินหลายชนิดปะปนกัน ได้แก่

  • ดินชุดพิมาย ดินชุดเชียงใหม่ ดินเหมาะสำหรับการปลูกข้าว
  • ดินชุดราชบุรี ใช้เป็นที่ทำนาได้ผลดี
  • ดินชุดโคราช/โพนพิสัย สภาพพื้นที่เป็นป่าเต็งรัง บริเวณที่พบ ใช้เป็นที่ทำนา พืชไร่  พืชผัก  ไม้ผล  ดินชุดโคราช  บางแห่งยังคงสภาพเป็นป่าแดง ป่าเต็ง  ใช้เป็นที่ทำนา ไม้ผล ไม้ยืนต้น
2. ด้านการเมือง/การปกครอง

                2.1 เขตการปกครอง

เทศบาลตำบลวานรนิวาส  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7  หมู่บ้าน 14 ชุมชน  ดังนี้

            ตารางแสดงเขตการปกครองในเขตเทศบาลตำบลวานรนิวาส

  ชื่อหมู่บ้าน ชื่อชุมชน
หมู่ที่ 1 บ้านวานรนิวาส 1. ชุมชนวัดไตรภูมิ
2. ชุมชนคลองเตย
หมู่ที่ 2 บ้านสร้างเม็ก 1. ชุมชนสร้างเม็ก
2. ชุมชนสะพานทอง
หมู่ที่ 3 บ้านหลักเมือง 1. ชุมชนหลักเมือง
2. ชุมชน บ.ข.ส.
หมู่ที่ 4 บ้านวานรนิวาส 1. ชุมชนวัดเสบุญเรือง
2. ชุมชนตลาดสด
3. ชุมชนสนามม้า
4. ชุมชนสนามบิน
หมู่ที่ บ้านป่าติ้ว 1. ชุมชนป่าติ้วพัฒนา
2. ชุมชนศูนย์ราชการ (บางส่วน)
หมู่ที่ ๑๓ บ้านแหลมทอง 1. ชุมชนแหลมทองพัฒนา (บางส่วน)
หมู่ที่ 16 บ้านแหลมทองพัฒนา 1. ชุมชนแหลมทองพัฒนา